7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ
7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ
รถยนต์ โดยเฉพาะรถเก๋ง ไม่รวมรถ 4x4,รถบรรทุก ฯลฯ เมื่อซื้อหรือได้มาแล้ว ต้องใช้งานให้ตรงตามจุดประสงค์ มิฉะนั้นจะได้ผลตอบแทนด้านลบ ถ้าเป็นรถก็จะเสียเร็ว สภาพเสื่อมโทรม เสียบ่อย สิ้นเปลื้องค่าซ่อมแซม ค่าอะไหล่ บางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา ต่อไปนี้จะเป้น 7 วิธีการใช้งานของรถหลายรูปแบบตามสภาพมาให้ระมัดระวังกัน
1.อย่าลุยน้ำลึก รถไม่ใช่เรือครับ ชิ้นส่วนหลายๆอย่างของรถเปียกน้ำได้แต่แช่น้ำไม่ได้ เช่น ลูกปืนเพลาขับ ลูกปืนล้อ กลไกของระบบเบรค ถ้าเอาไปลุยน้ำลึกๆหรือจอดแช่น้ำนานๆ อายุมันอาจสั้นลงเหลือไม่ถึงครึ่ง บางส่วนอาจชำรุดภายในไม่กี่วัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
2.เอาไปลุยหลุมบ่อโดยไม่ยั้ง ความจริงอาจจะไม่ได้เจตนาเอาไปลุยเพียงแต่ว่าไม่ได้ระมัดระวัง อีกอย่างกฏหมายบ้านเรายังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใช้รถไม่สามารถเอาผิดต่อผู้ที่รับผิดชอบสภาพผิวถนนได้เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดังนั้นเวลาขับควรมีสมาธิและสังเกตผิวถนน พบหลุมหรือโหนกก็ควรหลีกเลี่ยง ชะลอความเร็วหรือเบรคทันทีก็ต้องทำครับ แต่ต้องคำนึงถึงรถคันหลังที่ตามมาด้วย และอย่าลืมว่าเขาไม่ได้สร้างรถมาสำหรับตกหลุมลึกหรือหลุมที่มีขอบคมเป็ยบั้งแบบในบ้านเรานะครับ ทั้งยางและล้ออาจจะชำรุด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยางซีรีย์ต่ำแก้มบาง ลูกหมากจะมีอายุสั้นลง ระบบบังคับเลี้ยวก็ไม่ทนทานถ้าใช้งานอย่างที่ผมว่ามาเราไม่มีสิทธิ์ไปโทษผู้ผลิตว่าสร้างรถมาไม่ทนทานนะครับ
3.จอดแตกแดดทั้งวันเป็นประจำ แค่วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็แย่แล้วครับ เพราะแสงแดดในประเทศเรามีพิษสงร้ายกาจมาก ควรหาทางหลีกเลี่ยง เช่น หาเงาจากร่มไม้หรือตัวอาคารบัง ให้โดนเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ก็ลดภาระของสีที่พ่นตัวถังไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะสีเมทัลลิค ถ้าคุณภาพไม่สูงจะเสื่อมสภาพด้านและแตกระแหงในเวลาไม่กี่ปี ชิ้นส่วนภายในรถก็เช่นกัน แผงหน้าปัดด้านบนเป็นส่วนที่รับภาระหนักที่สุด ควรหาผ้าหรือกระดาษบังแสงแดดไว้ ปิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าเป็นรถที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกโขมยควนแง้มกระจกขนาดเอานิ้วก้อยสอดได้ไว้ทุกบานเพื่อให้อากาศถ่ายเท
4.เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนไม่ยอมเข้าศูนย์บริการนิยมซ่อมตามอู่ข้างถนนหรือซอกซอยเพราะถูก และหลงใหลกับคำพูดโอ้อวดของช่างทำนองว่า "ซ่อมมานานจนหลับตาทำได้แล้ว" ผมบอกได้เลยว่ารถสมัยนี้ขนาดช่างตามศูนย์บริการที่ได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนเฉพาะรุ่น ยังไม่เข้าใจระบบการทำงานหลายๆอย่างใรตัวรถอย่างถ่องแท้เลยครับ ผลสุดท้ายก็ต้องซมซานมาเข้าศูนย์บริการเสียเงินอีกรอบอย่างนี้คงไม่ดีแน่
5.ไม่เข้าศูนย์บริการตามกำหนด คือเข้าเฉพาะเมื่อรถเสียหรือเริ่มมีอาการ บางรายบอกว่าขับอยู่ดีๆได้ทุกวัน พอเข้าศูนย์บริการตามกำหนด มีเรื่องให้เปลี่ยนทุกที ไม่ใช่เขาโกงนะครับ (ที่โกงจริงก็มีบางแห่งเหมือนกัน) ช่างเค้าตรวจพบก่อนที่มันจะสำแดงอาการ เช่น พบว่าสายพานมีแผลหรือท่อน้ำเริ่มปริ ฯลฯ ก็คิดเสียว่าดีกว่าไปเสียกลางถนนนะครับ
6.ซื้อรถมาจอด กลัวมันโทรม ลืมไปว่าเป็นเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้งานอย่างหนึ่ง ข้อสำคัญคือแม้จะจอดเฉยๆ มูลค่าของมันก็ลดลงทุกวัน (เพราะมันไม่ใช่รถคลาสสิครุ่นพิเศษที่จะเพิ่มค่าตามอายุ)สรปแล้วถ้าคิดจะซื้อมาใช้มีทางเดียวที่ถูกต้องครับคือใช้ให้คุ้มกับเงินที่เสียไป
7.จอดนาน(คนละข้อกับข้อ6นะครับ) ประเภทเป็นหนึ่งในรถหลายคัน ที่เจ้าของมีอยู่และเบื่อแล้ว การจอดรถทิ้งไว้นานๆโดยไม่ใช้งานเลยให้โทษแก่รถมากมาย กลไลเบรคจะติดขัด โครงสร้างยางส่วนที่กดติดกับพื้นจะบิดจนไม่สามารถคลายตัวได้ ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์จะมีไอน้ำเกาะและขึ้นสนิม แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพ ฯลฯ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือเข็นรถเปลี่ยนตำแหน่งทุกๆสัปดาห์ หรือใช้งานสักอาทิตย์ละวันและควรใช้งานเกิน 30 นาทีด้วย เครื่องยนต์ถึงจะร้อนได้ทั่วถึง ไอน้ำในหม้อพักไอเสียจึงจะระเหยแห้งไปได้
รถยนต์ โดยเฉพาะรถเก๋ง ไม่รวมรถ 4x4,รถบรรทุก ฯลฯ เมื่อซื้อหรือได้มาแล้ว ต้องใช้งานให้ตรงตามจุดประสงค์ มิฉะนั้นจะได้ผลตอบแทนด้านลบ ถ้าเป็นรถก็จะเสียเร็ว สภาพเสื่อมโทรม เสียบ่อย สิ้นเปลื้องค่าซ่อมแซม ค่าอะไหล่ บางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา ต่อไปนี้จะเป้น 7 วิธีการใช้งานของรถหลายรูปแบบตามสภาพมาให้ระมัดระวังกัน
1.อย่าลุยน้ำลึก รถไม่ใช่เรือครับ ชิ้นส่วนหลายๆอย่างของรถเปียกน้ำได้แต่แช่น้ำไม่ได้ เช่น ลูกปืนเพลาขับ ลูกปืนล้อ กลไกของระบบเบรค ถ้าเอาไปลุยน้ำลึกๆหรือจอดแช่น้ำนานๆ อายุมันอาจสั้นลงเหลือไม่ถึงครึ่ง บางส่วนอาจชำรุดภายในไม่กี่วัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
2.เอาไปลุยหลุมบ่อโดยไม่ยั้ง ความจริงอาจจะไม่ได้เจตนาเอาไปลุยเพียงแต่ว่าไม่ได้ระมัดระวัง อีกอย่างกฏหมายบ้านเรายังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใช้รถไม่สามารถเอาผิดต่อผู้ที่รับผิดชอบสภาพผิวถนนได้เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดังนั้นเวลาขับควรมีสมาธิและสังเกตผิวถนน พบหลุมหรือโหนกก็ควรหลีกเลี่ยง ชะลอความเร็วหรือเบรคทันทีก็ต้องทำครับ แต่ต้องคำนึงถึงรถคันหลังที่ตามมาด้วย และอย่าลืมว่าเขาไม่ได้สร้างรถมาสำหรับตกหลุมลึกหรือหลุมที่มีขอบคมเป็ยบั้งแบบในบ้านเรานะครับ ทั้งยางและล้ออาจจะชำรุด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยางซีรีย์ต่ำแก้มบาง ลูกหมากจะมีอายุสั้นลง ระบบบังคับเลี้ยวก็ไม่ทนทานถ้าใช้งานอย่างที่ผมว่ามาเราไม่มีสิทธิ์ไปโทษผู้ผลิตว่าสร้างรถมาไม่ทนทานนะครับ
3.จอดแตกแดดทั้งวันเป็นประจำ แค่วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็แย่แล้วครับ เพราะแสงแดดในประเทศเรามีพิษสงร้ายกาจมาก ควรหาทางหลีกเลี่ยง เช่น หาเงาจากร่มไม้หรือตัวอาคารบัง ให้โดนเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ก็ลดภาระของสีที่พ่นตัวถังไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะสีเมทัลลิค ถ้าคุณภาพไม่สูงจะเสื่อมสภาพด้านและแตกระแหงในเวลาไม่กี่ปี ชิ้นส่วนภายในรถก็เช่นกัน แผงหน้าปัดด้านบนเป็นส่วนที่รับภาระหนักที่สุด ควรหาผ้าหรือกระดาษบังแสงแดดไว้ ปิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าเป็นรถที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกโขมยควนแง้มกระจกขนาดเอานิ้วก้อยสอดได้ไว้ทุกบานเพื่อให้อากาศถ่ายเท
4.เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนไม่ยอมเข้าศูนย์บริการนิยมซ่อมตามอู่ข้างถนนหรือซอกซอยเพราะถูก และหลงใหลกับคำพูดโอ้อวดของช่างทำนองว่า "ซ่อมมานานจนหลับตาทำได้แล้ว" ผมบอกได้เลยว่ารถสมัยนี้ขนาดช่างตามศูนย์บริการที่ได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนเฉพาะรุ่น ยังไม่เข้าใจระบบการทำงานหลายๆอย่างใรตัวรถอย่างถ่องแท้เลยครับ ผลสุดท้ายก็ต้องซมซานมาเข้าศูนย์บริการเสียเงินอีกรอบอย่างนี้คงไม่ดีแน่
5.ไม่เข้าศูนย์บริการตามกำหนด คือเข้าเฉพาะเมื่อรถเสียหรือเริ่มมีอาการ บางรายบอกว่าขับอยู่ดีๆได้ทุกวัน พอเข้าศูนย์บริการตามกำหนด มีเรื่องให้เปลี่ยนทุกที ไม่ใช่เขาโกงนะครับ (ที่โกงจริงก็มีบางแห่งเหมือนกัน) ช่างเค้าตรวจพบก่อนที่มันจะสำแดงอาการ เช่น พบว่าสายพานมีแผลหรือท่อน้ำเริ่มปริ ฯลฯ ก็คิดเสียว่าดีกว่าไปเสียกลางถนนนะครับ
6.ซื้อรถมาจอด กลัวมันโทรม ลืมไปว่าเป็นเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้งานอย่างหนึ่ง ข้อสำคัญคือแม้จะจอดเฉยๆ มูลค่าของมันก็ลดลงทุกวัน (เพราะมันไม่ใช่รถคลาสสิครุ่นพิเศษที่จะเพิ่มค่าตามอายุ)สรปแล้วถ้าคิดจะซื้อมาใช้มีทางเดียวที่ถูกต้องครับคือใช้ให้คุ้มกับเงินที่เสียไป
7.จอดนาน(คนละข้อกับข้อ6นะครับ) ประเภทเป็นหนึ่งในรถหลายคัน ที่เจ้าของมีอยู่และเบื่อแล้ว การจอดรถทิ้งไว้นานๆโดยไม่ใช้งานเลยให้โทษแก่รถมากมาย กลไลเบรคจะติดขัด โครงสร้างยางส่วนที่กดติดกับพื้นจะบิดจนไม่สามารถคลายตัวได้ ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์จะมีไอน้ำเกาะและขึ้นสนิม แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพ ฯลฯ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือเข็นรถเปลี่ยนตำแหน่งทุกๆสัปดาห์ หรือใช้งานสักอาทิตย์ละวันและควรใช้งานเกิน 30 นาทีด้วย เครื่องยนต์ถึงจะร้อนได้ทั่วถึง ไอน้ำในหม้อพักไอเสียจึงจะระเหยแห้งไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น