วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อเท็จจริงใน Hula Girls ผู้พลิกเหมืองแร่ในเมืองหนาว สู่แดนฮาวาย



เป็น ธรรมดาที่หนังซึ่งดัดแปลงจากเหตุการณ์จริงนั้น มักมีการแต่งแต้มสีสันในเรื่องราวเดิม เพื่อการเร้าอารมณ์ และความเหมาะสมในการเขียนเป็นบทภาพยนตร์ การชม Hula Girls หนังญี่ปุ่นเรื่องดังปี 2006 ของผู้กำกับ อี ชางอิล ซึ่งเป็นหนังที่มีความเป็นเมโลดราม่าอยู่สูงเองก็เช่นกัน เมื่อเราชมภาพยนตร์ก็ได้อรรถรสแบบหนึ่ง ความจริงที่ถูกบันทึกไว้ก็มีอรรถรสในการรับสื่อเช่นกัน และยังบอกให้เราเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง แม้จะในเรื่องแต่งที่ดัดแปลงมาจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นก็ตาม

ถึง ที่สุดแล้วแม้หนังจะเร้าอารมณ์ และสร้างความประทับใจแค่ไหน แต่เรื่องจริงที่ถูกมองว่าแสนเรียบง่าย ก็ยังดำเนินต่อไปจากเหตุการณ์บนแผ่นฟิล์ม และสร้างสิ่งที่มีคุณค่าในตัวมันเอง




ใน ช่วงทศวรรษที่ 60 ของประเทศญีปุ่นมีเหมืองแร่หลายแห่งต้องปิดตัวลง หนึ่งในนั้นคือเหมืองถ่านหินโจบังในเมืองอิวากิ จังหวัดฟุกุชิมะในปัจจุบัน ซึ่งครั้งหนึ่งคือแหล่งผลิตถ่านหินสำคัญของเกาะฮอนชู ซึ่งสถานการณ์เลวร้ายเพราะงาน 4,800 คน และครอบครัวที่พวกเขาเลี้ยงดูฝากชีวิตไว้กับเหมืองแห่งนี้ ตอนนั้นเองที่บริษัทเหมืองแร่ท้องถิ่นได้วางแผนที่จะรักษาเมืองไว้ไม่ให้ตาย ตามการปิดตัวของเหมืองแร่ ด้วยความคิดจะเปลี่ยนแปลงเมืองหนาวในแถบภาคเหนืออย่าง โทโฮคุ ให้กลายเป็นหน้าร้อน สวรรค์ของนักท่องเที่ยว


หมู่บ้านโทโฮคุในอดีต


นั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการสร้างJoban Hawaiian Center ในปี ค.ศ.1966 ซึ่งได้กลายเป็นสวนพักผ่อนในบรรยากาศฤดูร้อนแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น คนงานเหมืองมีงานทำอีกครั้งโดบเปลี่ยนจากการจับพลั่ว มาเล่นเครื่องดนตรีฮาวายอย่าง ยูคูลีลี แทน ขณะที่ต้นปาล์ม และพืชเขตร้อนในโดมที่ตั้งศูนย์เริ่มตายจากอากาศหนาวข้างนอก พวกเขาก็ให้ความอบอุ่นด้วยตะเกียงน้ำมันก๊าดประจำบ้าน ส่วนลูกสาวของคนงานได้กลายเป็นนักแสดงบนเวทีด้วยการแสดงเต้นฮูล่า และการเต้นสไตล์โพลีนิเซี่ยน โดยมีไฮไลท์ประจำแต่ละวันคือการแสดงชุด Hawaii of Japan

หนึ่งในตัวละครสำคัญ และมีชีวิตอยู่จริงคือ คาซูโกะ ฮายาคาวะ(ในหนังใช้ชื่อว่า มาโดกะ ฮิรายามะ ปัจจุบันอายุ 74 ปี)อดีตครูสอนบัลเล่ต์ชาวโยโกฮาม่า
ซึ่งเป็นครูฝึกการเต้นที่มีความรู้ด้านศิลปะของฮาวายไม่กี่คนในญี่ปุ่น เธอได้รับการติดต่อจากบริษัทเหมืองแร่
และ ยอมรับว่าทีแรกไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมจึงยอมรับข้อเสนอ "ตอนที่เขาติดต่อมา ฉันคิดว่าพวกเขาอยากให้ฉันไปเต้นในงานอะไรสักอย่างน่ะค่ะ" เธอกล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อ ยูทากะ นากามูระ ผู้บริหารประจำบริษัทเหมืองแร่ และหนึ่งในผู้ผลักดันโครงการศูนย์ฮาวายอธิบายถึงแผนที่เขาคิดจะสร้างในพื้นที่ภูเขาแห่งนี้
เธอจึงเริ่มคล้อยตาม และเห็นทางเป็นไปได้จนเดินทางมาในเมืองนี้ ในฐานะผู้สอนการเต้น Joban Music and Dance Institute ซึ่งเปิดในเดือนเมษายน 1965 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศูนย์ฮาวาย

เธอ ยังจำความหลังเมื่อมาถึงเมืองในเดือนธันวาคม 1964 ได้เป็นอย่างดี "มันไม่มีหิมะเลยค่ะ เป็นเมืองรอบล้อมด้วยภูเขาที่เงียบมาก ฉันแทบไม่เชื่อว่าสถาบันสอนเต้นจะเปิดในที่แบบนี้ได้"

แน่นอนว่ารวมถึงนักเต้นหน้าใหม่ทั้งหลายที่มีอุปสรรคสำคัญมากมาย "คนถูกฝึกได้รับเงินเดือนที่น่าพอใจ
แต่ผู้คนในโตโฮคุได้เปิดเผยความรู้สึกคับข้องใจกับคนอื่นๆ ในชุมชน" ยูกิโอะ ซากาโมโต้ ผู้บริหารบริษัทโจบัง โคซัน หนึ่งในกลุ่มที่ผลิตเครื่องมือสำหรับงานเหมืองแร่ในโจบังกล่าว ในอดีตเขายังเป็นนักศึกษาวิทยาลัย พ่อของเขาที่จากไปแล้วนั้นเคยเป็นเพื่อนสนิทกับนากามูระ ในฐานะหนึ่งในคนงาน 600 คนที่ถูกส่งมาจากบริษัทแม่เพื่อทำงานที่นี่

ฝ่ายบุคคลตรวจ ข้อมูลของคนงานและพบว่ามีหลายครอบครัวที่มีลูกสาว ซึ่งกำลังเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปีนั้น ตัวแทนของบริษัทได้ทำการเยี่ยมบ้านที่ถูกเลือกไว้ ซึ่งซากาโมโต้จำได้ไม่ลืม "ผมจำได้ว่าพวกเขาพูดกับคนงานว่าจะให้ลูกสาวมาเป็นนักเต้น หรือจะให้คนงานถูกไล่ออก มันเหมือนกับละครย้อนยุคแสนน้ำเน่าที่ข้าหลวงผู้ชั่วร้ายบังคับให้ชาว บ้านมอบลูกสาวให้กับตน"อย่างไรก็ตามเขาเปิดเผยว่าแท้จริงไม่ได้มีใครต่อต้าน Hawaiian Center มากมายอะไร "ชาวเหมืองและครอบครัวของเขาตระหนักสถานการณ์ที่เกิดว่าร้ายแรงแค่ไหน และมันเป็นเพียงความหวังเดียวที่จะช่วยเมืองไว้ได้"


การฝึกในยุคนั้น


ฮา ยาคาวะสัมภาษณ์หญิงสาวที่เข้ารับการสมัคร และถูกคัดเลือกเหลือ 18 คน โดยในจำนวนนี้มีหญิงสาวที่มีประสบการณ์การเต้นเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น แรกเริ่มเธอยอมรับว่าผิดหวังกับการเต้นที่ขาดความพร้อมเพรียง และเข้าจังหวะของนักเต้นสมัครเล่นทั้งหลายไม่น้อย...แต่ก็ไม่มีใครเลิกล้ม ออกจากการฝึกหลังการเคี่ยวกรำอย่างหนัก 3 เดือน นักเต้นทั้งหลายก็ออกแสดงโชว์รอบทดลองเป็นเวลาหลายเดือนในอาคารแสดงของชุมชน ท้องถิ่นในเขต
โทโฮคุ

สิ่งหนึ่งที่เธอไม่ได้กล่าวถึงนั่นคือการ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "ผู้หญิงไม่รู้หัวนอนปลายเท้า" ในหมู่บ้านและเมืองที่ยังมีความคิดอนุรักษ์ในการเปิดเผยเนื้อตัว ขณะที่ฮายาคาวะบอกว่าความเชื่อของเธอในการเต้นฮูล่าว่าเป็นศิลปะ
และความทุ่มเทของลูกศิษย์ทั้งหลายก็ช่วยยึดเหนี่ยวเธอไว้ในเวลาอันยากเข็ญ

ประสบการณ์เกี่ยวกับฮูล่าของเธอนั้นต้องย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อนที่จะย้ายมาสอนใน Joban Music and Dance Institute ปี ค.ศ.1956 เมื่ออายุได้ 24 ปี และมีโอกาสเยือนฮาวายพร้อมสมาชิกคณะโตเกียว บัลเล่ต์ คนอื่นๆ ระหว่างสำรวจสถานที่พวกเธอจะมีคิวแสดง "เราคิดว่ามันเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้เรื่องของการเต้นฮูล่าค่ะ และทำให้ได้รับบทเรียนต่างๆ จากสตูดิโอของที่นั่ง จากเดิมที่เราไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย
เห็นว่าเป็นแค่การเต้นยั่วยวนไม่ต่างกับการดูคาบาเร่ต์"

อย่าง ไรก็ตามหลังชมการแสดงของครูฝึกสอนชาวฮาวาย พวกเขาถึงได้ตระหนักว่าเป็นความคิดที่ผิด โดยเฉพาะฮายาคาวะซึ่งจับใจในท่าเต้นหลังอ่อนช้อย และพริ้วไหวทันที "พวกเขาภาคภูมิใจในการเต้นฮูล่า ฉันสัมผัสได้เช่นนั้นจริงๆ ค่ะ" เธอกล่าวโดยเสริมว่ามันไม่ใช่แค่การเต้นธรรมดา แต่ยังบ่งบอกถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานของฮาวาย ซึ่งความสนใจในศิลปะแขนงนี้ก็ไม่ได้หายไปหลังจากเธอกลับไปญี่ปุ่น หลายปีต่อมาฮายาคาวะออกจากคณะบัลเล่ต์ และกลับเรียนการเต้นที่สถาบันสอนในฮาวายเป็นเวลาร่วมปี ...หลังจากกลับมาที่ญี่ปุ่นในปี 1964 เธอก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในฐานะนักเต้นฮูล่าคนแรกของญี่ปุ่น รวมถึงนากามูระที่ทาบทามให้เธอมาสอน หลังจากเห็นเธอในโทรทัศน์


ภาพผู้ชมในยุคนั้น


และในวันที่ 15 มกราคม 1966 Joban Hawaiian Center ก็ได้เปิดให้เข้าชมโดมแก้ว ที่ประดับตกแต่งด้วยต้นปาล์ม "ก็ค่อนข้างกังวลเหมือนกันค่ะ ผู้ชมไม่เคยเห็นการแสดงแบบนี้มาก่อน" เธอรำลึกถึงวันนั้น...แต่ไม่มีอะไรต้องกลัว เพราะความน่าทึ่งของการแสดงทำให้คนไม่สามารถละสายตาไปจากคนเต้นได้ บ้างตะลึง
บ้างก็ยืนและขยับตัวไปตามจังหวะ และเมื่อถึงการแสดงสุดท้าย เสียงเฮของคนดูก็เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงผลตอบรับ

The Hawaiian Center ตั้งเป้าผู้ชมไว้ที่ 8 แสนคนในปีแรก แต่กลับมีคนมาในสวนเมืองร้อนแห่งนี้ถึง 1.24 ล้านคน แน่นอนว่ามีอีกหลายพื้นที่พยายามฟื้นเศรษฐกิจของเมืองโดยการสร้างสวนแนว ต่างๆ ขึ้นมา แต่ก็ไม่มีความสำเร็จไหนเทียบเท่าศูนย์ฮาวายแห่งนี้ หลายแห่งต่างทยอยกันปิดตัวไป แต่ที่แห่งนี้ก็ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า Spa Resort
Hawaiians



Spa Resort Hawaiians ในปัจจุบัน


ฮายาคาวะ ออกแบบท่าเต้น และกำกับฮูล่าโชว์ ณ ที่นี่อีกเป็นเวลาถึง 32 ปี โดยในกลางยุค 70s ขณะเยี่ยมฮาวาย เธอก็ได้เข้าพิธีอูนิกิ ซึ่งแสดงถึงการยอมรับในฐานะนักเต้นฮูล่าผู้รับการฝึกในศิลปะแขนงนี้อย่าง เชี่ยวชาญ ซึ่งจัดในฮาวายโดยอาจารย์ของเธอ และให้ชื่อเธอว่า คาไลนานี่ ซึ่งมีความหมายว่า beautiful lei(มาลัย แสนสวย) ปัจจุบันความคุ้นเคยกับการเต้นชนิดนี้ในญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไป มีศูนย์วัฒนธรรมและฟิตเนส คลับ หลายแห่งที่เปิดสอนการเต้นฮูล่า สำหรับผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีผู้เข้าเรียนจำนวนมาก โดยฮายาคาวะยังคงได้รับตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของ Joban Dance and Music Institute เป็นครูสอนเต้นฮูล่าในศูนย์ฝึกอีกหลายแห่งทั่วประเทศ "เห็นครั้งมันดูง่าย มีหลายคนที่เริ่มต้นเรียนโดยไม่ได้ใส่ใจ แต่ในไม่ช้าก็จะรู้ว่ามันลึกซึ้งกว่าที่พวกเขาเห็น ฉันเองก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังหรอกค่ะ แต่มันราวกับมีเวทย์มนต์สะกดให้ฉันเต้นมาจนทุกวันนี้"




ภาพการเต้นของ Hula Girl ในปัจจุบัน


ข้อมูลเพิ่มเติม
ปี 1965
ค.ศ.1965 ปีที่ คิมิโกะ และ ซานาเอะ รวมถึงผู้หญิงคนอื่นในเมืองโทโฮคุได้ค้นพบฮูล่า
เป็น ปีเดียวกับที่อเมริกาเริ่มโจมตีเวียดนามเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงสงครามระหว่าง อินเดีย และ ปากีสถานก็ได้เริ่มต้นในเดือนกันยายน ดนตรีร็อคแอนด์โรลโด่งดัง
มีการประดิษฐ์มินิสเกิร์ตขึ้นเป็นครั้งแรกและ แพร่หลายทั่วโลก ประชากรในญี่ปุ่นขณะนั้นมี 98 ล้านคน ผู้คนยังอายุยืนโดยผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 67.24 ปี ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 72.92 ปี ส่วนด้านการศึกษาของผู้คนยังน้อย ดังที่เราเห็นว่าคิมิโกะได้มีโอกาสเรียนหนังสือ แต่เพื่อนเธออย่างซานาเอะนั้นต้องทำงาน ตามสถิติคนญี่ปุ่นยุคนั้นมีคนเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 70% และนับเป็นปีแรกที่นักเรียนมหาวิทยาลัย และมัธยมรวมกันแล้วมีจำนวนเกิน 1 ล้านคน


ทีมนักเต้นในยุคแรก


หนึ่งเหมือง ครอบครัวเดียวกัน
เพราะ อาชีพการทำเหมืองมีอันตรายเกิดขึ้นได้ตลอด คำว่า "หนึ่งเหมือง ครอบครัวเดียวกัน" จึงใช้เป็นแรงผลักดันให้ทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการทำงานกับเหมือง เดียว ซึ่งคติพจน์นี้ยังส่งผ่านไปถึงงานใหม่อย่างศูนย์ฮาวาย ทั้งทีมงาน, นักดนตรี และนักเต้น ซึ่งเกี่ยวโยงกันในฐานะลูกจ้างของเหมือง และคนในครอบครัว ซึ่งส่งผลให้ทั้งหมดผ่านการฝึกอย่างเข้มงวดก่อนเปิดการแสดงได้สำเร็จ

คาเลนานี่ คาซูโกะ ฮายาคาวะ
หลังจากสอน, ออกแบบท่าเต้น และการแสดงใน Joban Music Dance Academy มาจนถึงปัจจุบัน เธอยังเปิดโรงเรียนสอนการเต้นฮูล่าแห่งแรกนั่นคือ Hayakawa Dancing School ในปี 1976
โดย การสอนดังกล่าวได้กลายเป็นกิจกรรมในการใช้ฮูล่าเพื่อเชื่อมวัฒนธรรมระหว่าง ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ โดยมีส่วนสำคัญทำให้การเต้นนี้ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

ฮูล่า
ฮูล่า
เป็นคำที่ใช้เรียกดนตรี และการเต้นดั้งเดิมของชาวฮาวาย ในญี่ปุ่นเคยถูกเรียกมาก่อนว่า Hula dance แต่ปัจจุบันได้เรียกกันอย่างถูกต้องด้วยคำสั้นว่าHula จุดกำเนิดของฮูล่านั้นไม่ชัดเจน แต่เชื่อกันว่ามันถูกใช้แสดงเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อบูชาพระ เจ้า และเพราะการไม่มีภาษาเขียน
ฮุล่าจึงถูกใช้สื่อสารด้านความคิดทั้ง เรื่องการเคารพธรรมชาติ และเทพเจ้าให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งชาวฮาวายฝึกฝนการเต้นมายาวนานหลายชั่วอายุคน จนเมื่อมิชชั่นนารีศาสนาคริสต์มาถึงในศตวรรษที่ 18 จึงต่อต้าน
และยก เลิกมันเพราะมองว่าเป็นการเต้นร้อนแรงเกินไป จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 กษัตริย์คาเมฮาเมฮา ที่ 5 และกษัตริย์คาลาคาอัวได้ส่งเสริมศิลปะดั้งเดิมนี้อีกครั้ง การเต้นฮูล่าจะกลับคืน และปัจจุบันก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก
เฉพาะที่ญี่ปุ่นมีคนฝึกฝนการเต้นแขนงนี้ถึง 5 แสนคนเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น